มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 

ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  • บรรณาธิการรับผิดชอบสิ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  • บริหารและดำเนินการงานวารสารตามวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • รักษาและรับรองมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการของผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์
  • ส่งเสริมและสนับสนุนใหผู้นิพนธ์แสดงความเห็นโดยไม่ขัดกับกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม
  • พัฒนาคุณภาพของวารสารอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมด้านรูปแบบ เนื้อหา และระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่

 

หน้าที่ของบรรณาธิการ

  • ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ อาทิ ผู้นิพนธ์ สังกัดของผู้นิพนธ์ ที่มาของผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ฯลฯ
  • ประเมินคุณภาพของบทความเบื้องต้นก่อนการพิจารณาคุณภาพของผู้ประเมินบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลของทั้งผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความวิชาการและบทความวิจัยในระหว่างการประเมินบทความ
  • พิจารณาและตัดสินใจคัดเลือกบทความเพื่อลงตีพิมพ์หลังผ่านกระบวนการประเมินบทความตามหลักเกณฑ์การประเมินของวารสาร ซึ่งพิจารณาจาก อาทิ ความสำคัญของบทความ การเรียนรู้สิ่งใหม่ องค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ความทันสมัย
  • พิจารณาไม่ให้มีการตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อนในการตีพิมพ์กับวารสารอื่น
  • ตรวจสอบเรื่องการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) ของทุกบทความ โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกบทความที่ขอลงตีพิมพ์จะไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
  • ชี้แจงกระบวนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยในวารสารทุกขั้นตอนเป็นลายลักษณอักษร ตั้งแต่รูปแบบการพิมพ์ การนำส่ง การพิจารณากลั่นกรองคุณภาพเบื้องต้น การประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า 3 คน แจ้งผลการประเมินคุณภาพไปยังผู้นิพนธ์ ซึ่งจะมีทั้งการให้ตีพิมพ์ การให้ตีพิมพ์โดยมีเงื่อนไข และการปฏิเสธการตีพิมพ์
  • ในกรณีที่ผู้นิพนธ์มีความเห็นต่างจากคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน บรรณาธิการรับการอุทธรณ์หรือชี้แจงประเด็นที่ผู้นิพนธ์อ้างมีความเห็นแตกต่างเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังกองบรรณาธิการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารผลการประเมิน

 

หน้าที่ของผู้นิพนธ์

  • รับรองว่าบทความของผู้นิพนธ์ที่ส่งมา ไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่น
  • เขียนบทความให้ต้องถูกตามระเบียบแบบฟอร์มของทางวารสารที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์”
  • นำเสนอข้อเท็จจริงจากผลทำวิจัยของตนเอง โดยไม่บิดเบือนข้อมูล ซึ่งจะก่อให้เกิดข้อมูลที่เป็นเท็จได้
  • อ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่นำมาใช้ในบทความของตนเอง โดยอย่างครบถ้วน ถูกต้องตามหลักการเขียนอ้างอิง
  • ระบุชื่อของผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย
  • ระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการวิจัยไว้ท้ายบทความ (ถ้ามี)
  • ระบุในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้จากการตีพิมพ์บทความให้ชัดเจน
  • หากบทความของผู้นิพนธ์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม ผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งส่งผลต่อผลการวิจัยมีประเด็นที่อ่อนไหวต่อผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และต้องได้รับการยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง

 

หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  • ผู้รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่ผู้อื่นให้รับทราบรู้ในช่วงระหว่างระยะเวลาที่ทำการประเมินบทความ
  • หากผู้ประเมินตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ อาทิเช่น เป็นผู้ร่วมโครงการหรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว ได้ให้ผู้ประเมินแจ้งให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการวารสารรับทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ
  • ประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ และพิจารณาประเมินตามรายการประเมินบทความที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด
  • ให้คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์สำหรับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ แนะนำบทความเล็งเห็นถึงความสำคัญและความสอดคล้องของบทความที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้ระบุหรือทำการอ้างอิงไว้ในบทความ
  • แจ้งให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการในทันทีที่ทราบว่าบทความที่กำลังประเมินนั้น มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับบทความของผู้นิพนธ์อื่น

คำแนะนำการใช้ระบบ

วิทยาเขตพัฒนาการ 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 Tel. 02-320-2777 Fax. 02-321-4444
          วิทยาเขตร่มเกล้า 60 ม.7 ถนนร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 Tel. 02-904-2222 Fax. 02-904-2200